Who cast that first fateful tomato that started the La Tomatina revolution? The reality is no one knows. Maybe it was an anti-Franco rebellion, or a carnival that got out of hand. According to the most popular version of the story, during the 1945 festival of Los Gigantes (a giant paper mâché puppet parade), locals were looking to stage a brawl to get some attention. They happened upon a vegetable cart nearby and started hurling ripe tomatoes. Innocent onlookers got involved until the scene escalated into a massive melee of flying fruit. The instigators had to repay the tomato vendors, but that didn't stop the recurrence of more tomato fights—and the birth of a new tradition.
Fearful of an unruly escalation, authorities enacted, relaxed, and then reinstated a series of bans in the 1950s. In 1951, locals who defied the law were imprisoned until public outcry called for their release. The most famous effrontery to the tomato bans happened in 1957 when proponents held a mock tomato funeral complete with a coffin and procession. After 1957, the local government decided to roll with the punches, set a few rules in place, and embraced the wacky tradition.
Though the tomatoes take center stage, a week of festivities lead up to the final showdown. It's a celebration of Buñol's patron saints, the Virgin Mary and St. Louis Bertrand, with street parades, music, and fireworks in joyous Spanish fashion. To build up your strength for the impending brawl, an epic paella is served on the eve of the battle, showcasing an iconic Valencian dish of rice, seafood, saffron, and olive oil.
Today, this unfettered festival has some measure of order. Organizers have gone so far as to cultivate a special variety of unpalatable tomatoes just for the annual event. Festivities kick off around 10 a.m. when participants race to grab a ham fixed atop a greasy pole. Onlookers hose the scramblers with water while singing and dancing in the streets. When the church bell strikes noon, trucks packed with tomatoes roll into town, while chants of "To-ma-te, to-ma-te!" reach a crescendo.
Then, with the firing of a water cannon, the main event begins. That's the green light for crushing and launching tomatoes in all-out attacks against fellow participants. Long distance tomato lobbers, point-blank assassins, and medium range hook shots. Whatever your technique, by the time it's over, you will look (and feel) quite different. Nearly an hour later, tomato-soaked bombers are left to play in a sea of squishy street salsa with little left resembling a tomato to be found. A second cannon shot signals the end of the battle. | ใครคือผู้ปามะเขือเทศชะตาขาดลูกแรก อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามปามะเขือเทศ ลา โตมาตินา (La Tomatina) ความจริงคือไม่มีผู้ใดทราบ บางทีอาจเป็นการปฏิวัติต่อต้านฝรั่งเศส หรืองานคาร์นิวัลที่บานปลายเลยเถิดจนไม่อาจควบคุมได้ ตามเรื่องราวที่นิยมเล่าขานกันมาระบุว่า ในช่วงปี 1945 ระหว่างเทศกาล โลส จีกันเตส (Los Gigantes - ขบวนพาเหรดหุ่นเปเปอร์มาเช่ยักษ์) ขณะที่ชาวบ้านกำลังจ้องจะเปิดฉากทะเลาะวิวาทเพื่อเรียกร้องความสนใจ พวกเขาบังเอิญมาพบรถเข็นขายผักอยู่ใกล้ๆ และได้เริ่มขว้างปามะเขือเทศสุกกัน ผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็เข้าร่วมวงด้วย จนกระทั่งเหตุการณ์ลุกลามกลายเป็นศึกขว้างปาผลไม้ที่ชุลมุนวุ่นวาย ผู้ก่อเหตุต้องจ่ายค่าชดใช้ให้กับคนขายมะเขือเทศ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ศึกขว้างปามะเขือเทศยุติลงอย่างถาวรแต่ประการใด และยังเป็นต้นกำเนิดของประเพณีใหม่อีกด้วย เนื่องจากทางการเกรงว่าเหตุการณ์จะยกระดับไปถึงขั้นไม่อาจควบคุมได้ จึงได้ออกกฎหมายห้าม ซึ่งต่อมาก็ผ่อนคลาย แล้วก็นำคำสั่งห้ามกลับมาใช้อีกหลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ 1950 ในปี 1951 ผู้คนท้องถิ่นที่ต่อต้านกฎหมายนี้ถูกจำคุกจนกระทั่งประชาชนเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลเหล่านี้ ความใจกล้าบ้าบิ่นที่จะท้าทายคำสั่งห้ามทำศึกมะเขือเทศที่โด่งดังมากที่สุดเกิดขึ้นในปี 1957 เมื่อผู้สนับสนุนจัดงานศพล้อเลียนที่เพียบพร้อมด้วยโลงศพและขบวนแห่ศพให้กับมะเขือเทศ หลังจากปี 1957 รัฐบาลท้องถิ่นจึงตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วยการกำหนดกฎระเบียบบางประการขึ้นมา และยอมรับประเพณีแปลกประหลาดนี้ แม้ว่ามะเขือเทศจะเป็นตัวชูโรง แต่งานเทศกาลที่จัดขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก็นำไปสู่การเผชิญหน้าขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองนักบุญองค์อุปถัมภ์แห่งบูโยล (Buñol) พระแม่มารี และนักบุญหลุยส์ เบอร์ทรันด์ โดยมีการเดินพาเหรดบนท้องถนน การแสดงดนตรี และดอกไม้ไฟที่สนุกสนานตามแบบฉบับสเปน ก่อนศึกจะเริ่ม จะมีการเสิร์ฟสุดยอดเมนู ข้าวผัดสเปน (paella) อาหารจานเด่นขึ้นชื่อของวาเลนเซียที่ปรุงจากข้าว อาหารทะเล หญ้าฝรั่น และน้ำมันมะกอก เพื่อเพิ่มพละกำลังให้คุณสำหรับการตะลุมบอนที่กำลังจะเกิดขึ้น ปัจจุบัน เทศกาลที่ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระนี้มีมาตรการจัดระเบียบบางประการ ผู้จัดงานไปไกลถึงขั้นมีการปลูกมะเขือเทศรสเฝื่อนพันธุ์พิเศษเพื่องานประจำปีนี้โดยเฉพาะ การเฉลิมฉลองจะเริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 10 โมงเช้า โดยผู้เข้าร่วมงานจะแข่งกันขึ้นไปคว้าชิ้นแฮมที่ติดอยู่บนยอดเสาที่ชโลมด้วยน้ำมัน ผู้ชมที่ร้องรำทำเพลงอยู่บนท้องถนนจะพากันฉีดน้ำใส่บรรดาผู้ปีนป่าย เมื่อระฆังโบสถ์ตีบอกเวลาเที่ยง รถบรรทุกที่ขนมะเขือเทศมาเต็มคันจะทยอยเข้าสู่เมือง พร้อมกับผู้คนประสานเสียงเรียก "โต-มา-เต้, โต-มา-เต้!" ดังขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นกิจกรรมหลักจะเริ่มขึ้นเมื่อมีการฉีดพ่นน้ำ ถือเป็นการเปิดฉากการบดขยี้และปล่อยมะเขือเทศในการโจมตีทุกรูปแบบเข้าใส่บรรดาผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ปามะเขือเทศจากระยะไกล ผู้ลอบสังหารระยะเผาขน และการเขวี้ยงใส่ในระยะกลาง ไม่ว่าคุณจะใช้เทคนิคอะไรก็ตาม เมื่อเวลาหมดลง รูปลักษณ์ (และความรู้สึก) ของคุณจะค่อนข้างต่างไปจากเดิม เกือบหนึ่งชั่วโมงต่อมา บรรดานักปาระเบิดที่ชุ่มไปด้วยมะเขือเทศจะถูกปล่อยให้ละเลงอยู่ท่ามกลางทะเลซอสซัลซ่าบนท้องถนนที่นุ่มๆ หยุ่นๆ แทบจะไม่เหลือมะเขือเทศที่ยังดูเป็นลูกอยู่เลย การฉีดพ่นน้ำครั้งที่สองถือเป็นสัญญาณยุติการประจัญบาน |